top of page

อยากจะสร้างบอร์ดเกมแบบง่ายๆ ต้องมีอะไรบ้างนะ

สวัสดีค่ะทุกคน หลังจากแจกการ์ดเกม กับกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ใช้ในชั้นเรียนมาสักระยะ

วันนี้จะมาแชร์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการออกแบบเกมนะคะ

โดยอ่านมาจากหนังสือ Make Your Own Board Game ของ Jesse Terrance Daniels ฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ หากใครสนใจลองสั่งซื้อมาอ่านกันได้นะคะ

แปลอาจจะไม่เป๊ะทุกคำ บางคำไม่รู้ศัพท์ภาษาไทยก็มีค่ะ แต่คร่าวๆ ก็ประมาณนี้ค่ะ คิดว่าพอจะเป็นความรู้ให้ทุกท่านที่สนใจได้ (ตัวเองก็ได้เรียนไปในตัวเช่นกัน 5555)

------------------------------------------------

กว่าจะมาเป็นเกม ต้องมีอะไรบ้าง

เกม คือการบอกเล่าเรื่องราวผ่านการสนทนา ภาพ คำพูด

ส่วนการออกแบบเกมนั้น คือการสร้างสมดุลของสิ่งต่างๆ ทั้งรูปแบบ ลักษณะ จำนวน สี สัญลักษณ์และอื่น ๆ

ในบทแรก จะพามาดูว่าเกมที่น่าสนใจนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้างกันค่ะ

คอมโพแนนต์ Components

ถ้าให้นับจำนวนอุปกรณ์ที่ถูกใช้ในเกม ก็คงจะนับไม่หมด วันนี้จะขอนำเสนอเพียงแค่ตัวที่ถูกใช้บ่อย ๆ ในการออกแบบเกม ซึ่งทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี

1. ลูกเต๋า Dice

ปกติลูกเต๋าจะถูกใช้เพื่อสร้างสถานการณ์สุ่มแบบง่าย ๆ ที่ถูกใช้ทั่วไปคือลูกเต๋า 6ด้าน (d6) แต่จริง ๆ แล้วลูกเต๋ามีหลายแบบมากอย่าง d4 หรือ d20 ก็มีเช่นกัน แต่นอกจากการใช้ลูกเต๋าเพื่อการสุ่มแล้ว การโยนเหรียญก็สามารถใช้ในการสุ่มได้เช่นกัน อีกทั้งบนหน้าลูกเต๋าไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเลข แต่ผู้ออกแบบสามารถออกแบบหน้าลูกเต๋าให้เหมาะสมกับเกมของตนได้อีกด้วย

.

2. การ์ด Card

การ์ดปกติที่เราคุ้นตาคือ สำรับไพ่ ใช่ไหมคะ ใน 1 สำรับจะมี 52 ใบ 4 แบบ แต่ละแบบจะมีตัวเลขตั้งแต่ 2-10 และรูปภาพอย่างแจ็ค แหม่ม คิง รวมถึงโจ๊กเกอร์ ค่าของการ์ดแต่ละใบก็ขึ้นกับกติกาการเล่นของเกมนั้น ๆ

โดยปกติแล้วขนาดของไพ่จะอยู่ที่ 6.4*8.9 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นไพ่ทาโร่ต์จะมีขนาด 7*12 เซนติเมตร ด้านการ์ดจะเป็นภาพแบบเดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เล่นเดาภาพหน้าการ์ดได้ และความหนาของการ์ดต้องมีขนาดพอดี เพราะต้องทนทานต่อการสับการ์ดนั่นเอง

.

3. ตัวหมาก Game piece

ตัวหมาก มักจะถูกใช้ในการเดินเกมเพื่อไปถึงเป้าหมาย รูปร่างของหมากนั้นมีตั้งแต่เป็นกระดาษที่ประกอบกันจนไปถึงตุ๊กตาที่ถูกหล่อขึ้นมา หมากแบบ miniature(ミニチュア)ที่มีสีสันก็มักถูกใช้อยู่บ่อย ๆ หรือหมากแบบ meeple (ミープル) ที่มีลักษณะเป็นสัตว์ คน หรือรูปทรงต่างๆ สีสันคัลเลอร์ฟูลก็มีเช่นกัน

.

4. บอร์ด Board

เป็นพื้นที่สำหรับแสดงแอคชันของเกม มักใช้คู่กับคอมโพแนนต์อื่น ๆ ลักษณะของบอร์ดมีหลากหลายมาก ตั้งแต่บอร์ดที่มีแค่เส้นขีด จนไปถึงแผนที่หรือรูปภาพต่างๆ

.

5. Tile

สามารถใช้แทนบอร์ดหรือแผนที่ได้ โดยก่อนเริ่มเกมผู้เล่นสามารถวาง tile ให้เป็นบอร์ด หรือระหว่างเล่นผู้เล่นสามารถต่อ tile ให้บอร์ดกว้างขึ้นได้เช่นกัน ลักษณะของ tile มีหลากหลาย เช่น รูปทรงเลขาคณิตอย่างสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผืนผ้า หรือหกเหลี่ยมเป็นต้น การใช้ tile เป็นอุปกรณ์ในเกม ต้องคำนึงถึงข้อจำกัด หลายอย่างเช่น ถ้าเป็นโดมิโน่ ก็ต่อกันได้แค่ตัวเลขที่เหมือนกัน หรือบางเกมอาจมีการใช้ tile ร่วมกัน แต่ถึงอย่างนั้นการเรียง tile นั้นก็สามารถทำให้เกมมีหลากหลายมากขึ้นด้วยเช่นกัน



6. เงินตรา currency

เงินตราในเกมก็มีบทบาทเหมือนกันเงินในโลกจริง บทบาทของเงินมีตั้งแต่ใช้ซื้อของ ทำหาย ถูกขโมย หรือเป็นผลตอบแทนจากการทำแอคชัน บางครั้งอาจจะไม่ได้เรียกเป็นเงิน เช่น ในบางเกมเรียกว่า พลังงาน แต่การทำแอคชันที่มีการแลกเปลี่ยนก็ใช้พลังงานแทนเงินก็มีเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วเงินตราในเกมนั้นจะมีลักษณะเป็นเหรียญพลาสติก หรือเหรียญกระดาษ หรือเป็นแค่กระดาษที่มีเลขเขียนไว้ก็ถูกใช้บ่อยเช่นกัน

.

7. วัตถุดิบ Materials

วัตถุดิบ จะมีลักษณะคล้ายเงินตรา ที่มีการแลกเปลี่ยนได้ แต่ 1 สิ่งที่ต่างกันคือ วัตถุดิบนั้นโดยปกติแล้ว จะเป็นพวกข้าวโพดหรือ พืชพันธ์หรือ อัญมณีเป็นต้น การจะได้วัตถุดิบมาได้นั้นอาจจะต้องแลกมาจากการใช้แรงงาน อย่างการทำฟาร์ม การขุดแร่ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในการสะสมวัตถุดิบขึ้นมา การใช้วัตถุดิบในเกมนั้นก็ขขึ้นกับเป้าหมายของแต่ละเกม บางครั้งการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ การกำหนดคุณค่า ราคาของวัตถุดิบก็ทำให้เกมสนุกขึ้นได้เช่นกัน

.

8.อุปกรณ์เสริม Tool

ลักษณะของอุปกรณ์เสริม มีหลากหลายรูปแบบ โดยถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อเพิ่มความสนุกของเกม ตัวอย่างของอุปกรณ์เสริม เช่น ค้อน หรือ หมากสำหรับไขกุญแจ ซึ่งทำให้เกมสมจริงมากขึ้น นอกจากนี้อุปกรณ์เสริมที่สนับสนุนผู้เล่นอย่าง ดินสอที่ไว้เขียนคะแนน แท่นไม้ไว้ตั้งการ์ด แว่นขยาย

.

9. ตัวจับเวลา Timer

มีไว้สำหรับจับเวลา ให้ผู้เล่นทำแอคชันในเวลาที่กำหนด ซึ่งเรามักจะเห็นในรูปแบบของนาฬิกาทรายที่ส่วนใหญ่มีเวลาประมาณ 1 นาที

.

10. โทเคน Token

โทเคนเป็นสิ่งที่ใช้แสดงว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในเกม เช่น การแสดงความเป็นเจ้าของของพื้นที่นั้น โดยลักษณะของโทเคนมีหลากหลาย วัสดุอาจจำมาจากแก้ว ไม้ หรือกระดาษ บางเกมอาจเรียกโทเคนว่า เคาเตอร์เมกเกอร์ หรือตั๋ว และบางครั้งโทเคนอาจมีหน้าที่คล้ายกับหมาก (game piece) ขึ้นอยู่กับลักษณะของเกม

.

11. พร็อพ prop

โดยทั่วไปพร็อพจะถูกวางไว้บนบอร์ด เพื่อแสดงถึงการมีอยู่ของสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขาไฟ ดันเจี้ยน เป็นต้น แต่พร็อพที่มีวัตถุประสงค์ในตัวก็มีเช่นกัน ปกติแล้วเกมจะมีหรือไม่มีพร็อพก็ไม่ได้ต่างอะไรมาก หากแต่ถ้ามีประดับไว้แล้ว เกมก็จะดูสนุกมากยิ่งขึ้น ดูเผินๆ อาจจะคล้ายอุปกรณ์เสริม แต่สิ่งที่ต่างกับอุปกรณ์เสริมคือ อุปกรณ์เสริมคือสิ่งที่จำเป็นต้องมีในเกม แต่ก็มีพร็อพส่วนหนึ่งที่ดูเหมือนจะจำเป็นเช่นกัน เช่น การ์ดที่มีคำอธิบายแอคชันหรือค่าต่างๆในเกม ที่ช่วยให้ผู้เล่นเล่นเกมในง่ายขึ้น

ในส่วนของคอมโพแนนต์ ก็จะประมาณนี้นะคะ

ส่วนต่อไปจะสรุปส่วนไหนของหนังสือดีน้า >w<

Jaokha Create House

ให้คำปรึกษา รับผลิตสื่อการสอนประเภทการ์ดเกม บอร์ดเกม หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการศึกษา

ดูข้อมูลเชิงลึกและโฆษณา

โปรโมทโพสต์

ความรู้สึกทั้งหมด

15ภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนธัญบุรี Japanese Language TBS และ คนอื่นๆ อีก 14 คน


最新記事

すべて表示

Comments


Copyright © 2024 Jaokha Create House

bottom of page